บริการด้าน วีซ่า (VISA)

วีซ่าคืออะไร?

วีซ่า (VISA) หมายถึง หลักฐานการอนุญาตให้เข้าประเทศ ที่ทำเป็นรอยตราประทับ หรือเป็นแผ่นกระดาษสติกเกอร์ติด อยู่ในหนังสือเดินทาง (Passport) โดยเป็นหลักการเดียวกันของประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ได้ถือปฏิบัติว่า ก่อนที่คนของประเทศหนึ่งจะเดินทางเข้าไปอีกประเทศหนึ่ง ประเทศใดๆ ก็จะต้องไปขอวีซ่าเพื่อเข้าประเทศ จากกงสุลของประเทศที่จะเดินทางไปเสียก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ก็จะได้รับการประทับตราวีซ่า หรือติดเป็นสติกเกอร์ ที่เป็นวีซ่าให้ในหนังสือเดินทาง ตามปกติโดยทั่วไปแล้วถึง แม้ว่าการเดินทางระหว่างประเทศ จะต้องขอวีซ่าสำหรับเดินทาง เข้าประเทศนั้นๆ เสียก่อนก็ตาม แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับบางประเทศที่ได้ทำความตกลงไม่ต้องขอวีซ่าระหว่างกันก็ได้ หรือบางประเทศอาจยกเว้นโดย การอนุญาตให้คนบางสัญชาติเดินทางเข้าไปได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าเลยก็ได้

วีซ่าประเภทนักท่องเที่ยว (Tourist Visa)

วีซ่าชนิดนี้ต้องยื่นคำขอจากนอก ประเทศไทยเช่นเดียวกับ NON-IMMIGRANT VISA เมื่อเดินทางเข้าประเทศไทยจะได้รับอนุญาต ณ ด่านตรวจ ให้อยู่เป็นเวลา 60 วัน และขออยู่ต่อได้อีก 30 วัน (เฉพาะประเทศศรีลังกา บังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน เนปาล อิหร่าน ไนจีเรีย โตโก ยูกันดา จะขอเลื่อนการเดินทางออกไปได้อีกเพียง 7 วัน ตามนโยบายของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) วีซ่าชนิดนี้สามารถขออยู่ต่อในระยะยาวได้เช่นกันหากมีความจำเป็น เพราะกฎหมายให้อำนาจอธิบดีกรมตำรวจ (ปัจจุบันคือ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) เป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้อยู่ต่อได้ครั้งละไม่เกิน 1 ปี (ตามความในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522) เพียงแต่ว่าวีซ่าชนิดนี้ไม่สามารถ ใช้ขออนุญาตทำงานได้เท่านั้นเอง อนึ่ง คนต่างด้าวผู้ที่ถือ TOURIST VISA หากเขาต้องการจะขออนุญาตทำงานในประเทศไทย หรือเกรงว่าถ้าไม่มี NON-IMMIGRANT VISA ตามที่ได้รับคำบอกเล่าของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว จะไม่สามารถขออยู่ต่อระยะยาวได้ ก็มีสิทธิยื่นคำขอเปลี่ยนวีซ่าประเภทเป็น NON-IMMIGRANT VISA

รายชื่อประเทศที่คนไทยเข้าได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า ขอแค่มีพาสปอร์ตก็พอ (26 ก.ค. 59)

กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ ได้ประกาศรายชื่อประเทศและดินแดนที่ผู้ถือหนังสือเดินทางไทย หรือ เรียกง่ายๆ ว่าแค่มี Passport สามารถเดินทางไปเที่ยวได้โดยไม่ต่องขอวีซ่าเพิ่มเติม รวมทั้งประเทศที่ผู้ถือพาสปอร์ตไทยสามารถขอ Visa on Arrival (VOA) ได้

ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
อาร์เจนตินา (Argentina) บราซิล (Brazil) ชิลี (Chile)
เกาหลีใต้ (South Korea) เปรู (Peru) เเอกวาดอร์ (Ecuador) *
ระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน
ฮ่องกง (Hong Kong อินโดนีเซีย (Indonesia) * ลาว (Laos)
มาเก๊า (Macau) มองโกเลีย (Mongolia) มาเลเซีย (Malaysia) *
มัลดีฟส์ (Maldives) * รัสเซีย (Russia) แอฟริกาใต้ (South Africa) *
เวียดนาม (Vietnam) เซเชลส์ (Republic of Seychelles) * ไต้หวัน (Taiwan) *
สิงคโปร์ (Singapore) * ตุรกี (Turkey)
ระยะเวลาไม่เกิน 21 วัน
ฟิลิปปินส์ (Philippines)
ระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน
บาห์เรน (Bahrain) * ญี่ปุ่น (Japan) *
ระยะเวลาไม่เกิน 14 วัน
บรูไน (Brunei) * กัมพูชา (Cambodian)

* หมายถึง ประเทศที่ประกาศยกเว้นการตรวจลงตราแก่ไทยฝ่ายเดียว ที่เหลือนอกจากนั้นคือ ประเทศที่ทําความตกลงทวิภาคีกับไทย

ไต้หวัน อนุญาตให้ผู้ือหนังสือเดินทางไทยที่มีถิ่นที่อยู่ถาวร หรือได้รับการตรวจลงตราแบบเดินทางเข้า-ออกได้หลายครั้ง หรือเรียกอีกอย่างว่ามี “Multiple visa” จากสหรัฐอเมริกา แคนาดา เชงเก้นสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราในการเดินทางเข้าไต้หวัน

รัสเซีย ยกเว้นการตรวจลงตราให้ผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของไทยที่ประสงค์จะเดินทางเข้ารัสเซียเพื่อการท่องเที่ยวเท่านั้น หากเป็นด้วยวัตถุประสงค์อื่นก็อาจถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าเมืองได้ ดังนั้นคนไทยที่จะเดินทางไปรัสเซียควรขอรับการตรวจลงตราให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ในการเข้าประเทศทุกครั้ง

คอสตาริกา อนุญาตให้ผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของไทยที่ได้รับการตรวจลงตรา (visa) ประเภทนักท่องเที่ยว ลูกเรือ หรือธุรกิจ เข้าสหรัฐฯ แคนาดา Schengen ญี่ปุ่น หรือเกาหลีใต้ และการตรวจลงตราดังกล่าวมีอายุเหลืออย่างน้อย 3 เดือนนับจากวันที่เดินทางเข้าคอสตาริกา หรือเป็นผู้ที่มีถิ่นพํานักถาวรในสหรัฐฯ แคนาดา หรือสหภาพยุโรป ที่มีระยะเวลาอนุญาตให้พํานักในฐานะผู้มีถิ่นพํานักถาวรในประเทศดังกล่าวเหลืออย่างน้อย 6 เดือน นับจากวันที่เดินทางเข้าคอสตาริกา

โคลอมเบีย (โคลัมเบีย) ยกเว้นการตรวจลงตราให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยที่ได้รับการตรวจลงตราจากสหรัฐฯ (ไม่ใช่ประเภท Transit C1) และกลุ่มประเทศเชงเก้น (เฉพาะประเภท C และ D) ที่มีอายุการตรวจลงตราไม่น้อยกว่า 180 วัน นับจากวันที่เดินทางเข้าโคลอมเบีย รวมถึงยกเว้นการตรวจลงตราให้แก่ผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ถาวรในสหรัฐฯ และกลุ่ม ประเทศเชงเก้นด้วย ทั้งนี้ระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นฯ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองโคลอมเบีย

กลุ่มประเทศแชงเก้นวีซ่า (Schengen Visa)

Schengen Visa นั้นใช้ได้กับประเทศแถบยุโรปที่เป็นสมาชิก Schengen Visa เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยว ที่เดินทางไปเที่ยวยุโรป หลายประเทศต่อเนื่องกันในทริปเดียว โดยสามารถยื่นคำร้องขอวีซ่า แบบเดินทางเข้า - ออกครั้งเดียว หรือเดินทางเข้า - ออกหลายครั้งก็ได้ แต่ทั้งนี้รวมเวลาที่พำนักทั้งหมดแล้ว ต้องไม่เกิน 90 วัน ภายในระยะเวลา 6 เดือน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่เดินทางเข้าประเทศในกลุ่มสัญญาเชงเก็น

การทำ Schengen Visa จะทำให้นักท่องเที่ยวไม่ต้องเสียเวลายื่นวีซ่าขอเข้าประเทศ กับทุกๆ ประเทศที่จะเดินทางเข้าไปเที่ยว มีเพียง Schengen Visa ก็สามารถเข้าได้ทุกประเทศที่เป็นสมาชิก Schengen สำหรับ Schengen Visa นั้น ให้ยื่นคำร้องขอวีซ่าต่อสถานทูตของประเทศที่ จะเดินทางเข้าไปเป็นประเทศแรกที่ผู้เดินทาง เดินทางไปถึงยุโรป (ตัวอย่างเช่น เดินทางไป อิตาลี - สวิส - ฝรั่งเศส ประเทศที่จะออก Schengen Visa ให้คือ ประเทศ อิตาลี)

ออสเตรีย (Austria) เบลเยียม (Belgium) เดนมาร์ก (Denmark)
ฟินแลนด์ (Finland) ฝรั่งเศส (France) เยอรมนี (Germany)
ไอซ์แลนด์ (Iceland) อิตาลี (Italy) กรีซ (Greece)
ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg) เนเธอร์แลนด์ (The Netherlands) นอร์เวย์ (Norway)
โปรตุเกส (Portugal) สเปน (Spain) สวีเดน (Sweden)
เอสโตเนีย (Estonia) ลัตเวีย (Latvia) ลิทัวเนีย (Lithuania)
ฮังการี (Hungary) มอลตา (Malta) โปแลนด์ (Poland)
สโลวีเนีย (Slovenia) สโลวาเกีย (Slovakia) สาธารณะรัฐเช็ก (Czech Republic)
สวิสเซอร์แลนด์ (Switzerland) โมนาโก (Monaco)

5 ประเทศที่ผู้ถือพาสปอร์ตไทยสามารถขอ Visa on Arrival (VOA) ได้

ประเทศ / ดินแดน จำนวนวันที่พำนักได้สูงสุด อัตราค่าธรรมเนียม
1. ฟิจิ 4 เดือน ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม
2. คีร์กีซสถานิ 15 วัน / 1 เดือน 50 USD / 60 USD
3. เนปาล 15 วัน / 30 วัน / 90 วัน 25 USD / 40 USD / 100 USD
4. หมู่เกาะโซโลมอน 3 เดือน ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม
5. ติมอร์-เลสเต 30 วัน 30 USD

แผนที่แสดงข้อมูลการขอวีซ่าสำหรับชาวไทย (ภาพจาก Wikipedia)

ที่มา – กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ